ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ "ชวเลข"
หลักสำคัญในการเขียนชวเลข คือ ผู้เรียนจะต้องทำการฝึกฝน
ชวเลขที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ๒ แบบ คือ
๑. แบบเกรกก์ (Gregg) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย นายโรเบิร์ท เกรกก์ ในปี ค.ศ. ๑๘๘๘
๒. แบบปิทแมน (Pitman) ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดย นายเซอร์ไอแซค ปิทแมน ในปี ค.ศ. ๑๘๓๗
ซึ่งหลักในการเขียนชวเลขมีหลักกว้าง ๆ คือ
๑. การเขียนตามเสียง ซึ่งการเขียนนี้จะเขียนตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าหลักการเขียน
ภาษาไทยจะเขียนอย่างไรก็ตาม แต่สำหรับชวเลขถ้าไม่ออกเสียงก็ไม่ต้องเขียน เช่น
หลักการเขียนภาษาไทย ------------------> หลักการเขียนชวเลข
ทรัพย์ ------------------> ซับ
ศาสตร์ ------------------> สาด
ชวเลขเขียนตามเสียง ฉะนั้น ตัวการันต์ไม่ได้ออกเสียง ตัวชวเลขก็ไม่ต้องเขียนเช่นกัน
๒. การเขียนชวเลขไม่มีวรรณยุกต์ คือแม้ว่าคำในภาษาไทยคำนั้นจะมีวรรณยุกต์ก็ตาม แต่สำหรับ
การเขียนชวเลขนั้นจะเขียนในรูปแบบเดียว ซึ่งหลักการถอดชวเลขนั้น ผู้ถอดชวเลขจะต้องทราบ
จากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใดจากรูปประโยค แต่สำหรับการเรียนขั้นต้นนั้นจะใช้เครื่องหมาย
แทนไปก่อน เมื่อเกิดความชำนาญแล้วผู้ถอดชวเลขจะเรียนรู้ได้เองโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย เช่น
การเขียนชวเลขนั้นจะเขียนในรูปแบบเดียว ซึ่งหลักการถอดชวเลขนั้น ผู้ถอดชวเลขจะต้องทราบ
จากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใดจากรูปประโยค แต่สำหรับการเรียนขั้นต้นนั้นจะใช้เครื่องหมาย
แทนไปก่อน เมื่อเกิดความชำนาญแล้วผู้ถอดชวเลขจะเรียนรู้ได้เองโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย เช่น
หลักการเขียนภาษาไทย ------------------> หลักการเขียนชวเลข
นา หน่า น่า น้า หนา ------------------> นา
ชวเลขไทยเป็นวิชาที่ใช้ทักษะ ใช้ความชํานาญ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วยการฝึกฝน
อย่างถูกวิธีด้วยความสนใจเอาใจใส่ ความพยายาม ความอดทน และความขยัน จนเกิดทักษะ
ในการเขียนก่อให้เกิดปฏิภาณไหวพริบ มีความคล่องตัวรู้จักใช้ภาษาและขัดเกลาสํานวนได้อย่าง
เหมาะสม
หลักวิธีการเรียนรู้ชวเลข
การเขียนชวเลขจะเริ่มต้นคล้ายกับการเรียนภาษาไทยเบื้องต้น โดยเราจะเริ่มตั้งแต่เขียนและการคัดตัวพยัญชนะ สระ ผสมคํา เขียนประโยค เขียนข้อความตามคําบอกแล้วถอดข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย จะแบ่งการเรียนรู้ไว้เป็น ๓ ขั้น คือ ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง ขั้นสูง ดังนี้
ขั้นพื้นฐาน
- ศึกษาความสําคัญของหลักการเขียนชวเลขให้เข้าใจ
- การฝึกฝนเขียนพยัญชนะเส้นโค้ง พยัญชนะเส้นตรง และเส้นตรงแนวเฉียงขึ้นและเฉียงลงให้ได้
ตามมาตรฐาน
ตามมาตรฐาน
- การเขียนสระวงกลม สระขอ สระผสม
- การผสมพยัญชนะกับสระวงกลม การผสมพยัญชนะกับสระขอ การผสมพยัญชนะกับสระประสม
- การเขียนสระเสียงสั้นและเสียงยาว
- การเขียนเครื่องหมายเสียง
- การเขียนพยัญชนะ ย ญ
- การเขียนพยัญชนะตัว อ
- การเขียนคําที่มีตัว ก ด บ น ง ม ว ย เป็นตั วสะกด
- การเขียนพยัญชนะพิเศษ ต หงาย ส เปลี่ยนวิถี ว ควบกล้ํา บ ป ตัวบิด
- การทิ้งจุดสระเสียงสั้น
- การเขียนเครื่องหมายวรรคตอน
- การเขียนย่อคําหน้า
- การเขียนประโยคต่าง ๆ
- การเขียนคําย่อเบื้องต้น
- การเขียนคำวลี
ขั้นกลาง
- ทบทวนชวเลขขั้ นพื้นฐาน
- ทบทวนคําย่อ คําวลี
- การเขียนคําพัฒนา
- การเขียนย่อคําโดยใช้พยัญชนะแทนคําหน้า
- การเขียนย่อ วัน เดือน ปี
- การเขียนจํานวน เวลา น้ำหนัก เนื้อที่ ลักษณะนามต่าง ๆ
- การเขียนคําสุภาษิต สํานวน คําพังเพย คําคล้องจอง
- การเขียนคําราชาศัพท์
- ฝึกเขียนตามคําบอก
- วิธีการนับคํา นับพยางค์ แบ่งช่วงคําบอก
- หลักเกณฑ์การนับคําผิด
ขั้นสูง
- ทบทวนชวเลขขั้นพื้นฐานและขั้นกลาง
- ทบทวนคำย่อ คำวลี คำราชาศัพท์
- การฝึกการย่อคำเองตามหลักการย่อ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเขียนชวเลข
- การฝึกเขียนตามคำบอกเพื่อพัฒนาความเร็วและความแม่นยำในการเขียนให้ได้ตามเกณฑ์
- ฝึกถอดข้อความชวเลขได้ถูกต้องแม่นยำตามมาตรฐาน